การเติบโตของชุมชนเมืองยุคใหม่ ได้จัดให้ถนนมีความสำคัญในฐานะระบบการเชื่อมต่อระหว่างย่านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และโครงสร้างพื้นฐานในการสัญจรของเมืองซึ่งสนับสนุน โครงสร้างการสัญจรของระบบขนส่งมวลชน ถนนจะมีฐานะอย่างไรขึ้นอยู่กับการวางแผนและการออกแบบของคณะผู้บริหารเมืองและในฐานะของถนนสายหลัก (Main Street) ถนนสายหลักของย่านมักจะเป็นถนนสายแรกๆ ที่ก่อสร้างขึ้นพร้อมกับเมืองและมักตั้งอยู่บริเวณใจกลางย่านพาณิชยกรรมดั้งเดิม ใครที่เดินทางเพื่อทำงานหรือท่องเที่ยว ก็จะพอรู้จักถนนสายหลักที่เอาไว้ใช้เดินทางไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ที่ภาษาราชการเรียกว่าทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย ดังนี้
ถนนพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 1 ของประเทศไทย ที่ตั้งชื่อตามพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และนายกรัฐมนตรีคนที่สองของไทย เริ่มต้น กม. 0 ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วิ่งขึ้นไปทางทิศเหนือ
ถนนมิตรภาพ ถนนสายหลักที่มุ่งหน้าไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างถนนมิตรภาพ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 เป็นถนนสายประธานสายเดียวที่ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ โดย กม.0 นั้นจะอยู่ที่ อ.เมืองสระบุรี เป็นถนนที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนในการสร้างจากสหรัฐอเมริกา จอมพล ป.พิบูลสงครามเลยตั้งชื่อว่า “ถนนมิตรภาพ” เพื่อแสดงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันนั่นเอง
ถนนสุขุมวิท ถนนสายหลักที่ใช้เดินทางไปภาคตะวันออกอย่างถนนสุขุมวิท ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 เริ่มต้น กม. 0 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วิ่งผ่านราชดำเนินกลาง, ถนนมหาชัย, ถนนพระราม 1 (หน้าห้างพารากอน) ผ่านแยกเพลินจิตออกสู่สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี จบสุดท้ายที่ อ. คลองใหญ่ จังหวัดตราด มีระยะทางยาวรวม 488 กิโลเมตร
ถนนเพชรเกษม ถนนสายหลักเพื่อเดินทางสู่ภาคใต้ของประเทศไทยอย่างถนนเพชรเกษม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นถนนสายที่มีระยะทางยาวที่สุดของประเทศไทย มีระยะทางรวม 1310.554 กิโลเมตร
พื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑลตามแนวถนนกาญจนาภิเษก มีโครงข่ายถนนในพื้นที่ที่สามารถเชื่อมการเดินทางจากในเมืองไปยังฝั่งตะวันตกอยู่หลายโครงการ เช่นโครงการถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ-ใต้) สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายจราจรในพื้นที่ปริมณฑลด้านเหนือของกรุงเทพฯ ตลอดจนส่งเสริมศักยภาพโครงข่ายเส้นทางคมนาคมของกรุงเทพฯ-ปริมณฑลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รองรับเส้นทางคมนาคมสายหลักในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น ตลอดจนการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต โดยเฉพาะการเปิดพื้นที่ใน จ.ปทุมธานี ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ถนนราชพฤกษ์หรือ ทางหลวงชนบท นบ.3021 สายราชพฤกษ์ เป็นถนนที่ทอดยาวจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดปทุมธานี เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสายหนึ่ง โดยสามารถเดินทางจากถนนสาทรถึงอำเภอเมืองปทุมธานีได้โดยไม่ต้องผ่านทางแยกสัญญาณไฟจราจรแม้แต่แห่งเดียว
โครงการของเราสามารถเชื่อมต่อได้กับหลากหลายเส้นทาง อาทิเช่น ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี(340), ถนนกาญจนาภิเษก, และถนนราชพฤกษ์ ทั้งยังเชื่อมต่อกับวงแหวนรอบนอกตะวันตก เดินทางเพียง 5 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีทางเข้าออกอีกหลายเส้นทางที่สามารถเข้าออกได้สะดวกสบายมากขึ้น เป็นจุดเชื่อมต่อที่จะทำให้การเดินทาง ของ 3 จังหวัด คือ ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ ทางเราเชื่อว่าจะสามารถตอบโจทย์เจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาทำเลในการทำธุรกิจใหม่ๆที่ต้นทุนไม่แรงและยังเดินทางได้สะดวกมากขึ้นอีกด้วย