พ.ค. 25, 2023

ถนนสายหลักวงแหวนราชพฤกษ์-ตะวันตก ทำเลทอง

การเติบโตของชุมชนเมืองยุคใหม่ ได้จัดให้ถนนมีความสำคัญในฐานะระบบการเชื่อมต่อระหว่างย่านการใช้ประโยชน์ที่ดิน  และโครงสร้างพื้นฐานในการสัญจรของเมืองซึ่งสนับสนุน โครงสร้างการสัญจรของระบบขนส่งมวลชน  ถนนจะมีฐานะอย่างไรขึ้นอยู่กับการวางแผนและการออกแบบของคณะผู้บริหารเมืองและในฐานะของถนนสายหลัก (Main Street)   ถนนสายหลักของย่านมักจะเป็นถนนสายแรกๆ ที่ก่อสร้างขึ้นพร้อมกับเมืองและมักตั้งอยู่บริเวณใจกลางย่านพาณิชยกรรมดั้งเดิม  ใครที่เดินทางเพื่อทำงานหรือท่องเที่ยว ก็จะพอรู้จักถนนสายหลักที่เอาไว้ใช้เดินทางไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ที่ภาษาราชการเรียกว่าทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย ดังนี้

ถนนพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข 1 ของประเทศไทย ที่ตั้งชื่อตามพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และนายกรัฐมนตรีคนที่สองของไทย เริ่มต้น กม. 0 ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วิ่งขึ้นไปทางทิศเหนือ

ถนนมิตรภาพ ถนนสายหลักที่มุ่งหน้าไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างถนนมิตรภาพ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 เป็นถนนสายประธานสายเดียวที่ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ โดย กม.0 นั้นจะอยู่ที่ อ.เมืองสระบุรี เป็นถนนที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนในการสร้างจากสหรัฐอเมริกา จอมพล ป.พิบูลสงครามเลยตั้งชื่อว่า “ถนนมิตรภาพ” เพื่อแสดงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันนั่นเอง 

ถนนสุขุมวิท ถนนสายหลักที่ใช้เดินทางไปภาคตะวันออกอย่างถนนสุขุมวิท ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 เริ่มต้น กม. 0 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วิ่งผ่านราชดำเนินกลาง, ถนนมหาชัย, ถนนพระราม 1 (หน้าห้างพารากอน) ผ่านแยกเพลินจิตออกสู่สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี จบสุดท้ายที่ อ. คลองใหญ่ จังหวัดตราด มีระยะทางยาวรวม 488 กิโลเมตร 

ถนนเพชรเกษม ถนนสายหลักเพื่อเดินทางสู่ภาคใต้ของประเทศไทยอย่างถนนเพชรเกษม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นถนนสายที่มีระยะทางยาวที่สุดของประเทศไทย มีระยะทางรวม 1310.554 กิโลเมตร

พื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑลตามแนวถนนกาญจนาภิเษก มีโครงข่ายถนนในพื้นที่ที่สามารถเชื่อมการเดินทางจากในเมืองไปยังฝั่งตะวันตกอยู่หลายโครงการ เช่นโครงการถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ-ใต้) สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายจราจรในพื้นที่ปริมณฑลด้านเหนือของกรุงเทพฯ ตลอดจนส่งเสริมศักยภาพโครงข่ายเส้นทางคมนาคมของกรุงเทพฯ-ปริมณฑลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รองรับเส้นทางคมนาคมสายหลักในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น ตลอดจนการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต โดยเฉพาะการเปิดพื้นที่ใน จ.ปทุมธานี ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ถนนราชพฤกษ์หรือ ทางหลวงชนบท นบ.3021 สายราชพฤกษ์ เป็นถนนที่ทอดยาวจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดปทุมธานี เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญสายหนึ่ง โดยสามารถเดินทางจากถนนสาทรถึงอำเภอเมืองปทุมธานีได้โดยไม่ต้องผ่านทางแยกสัญญาณไฟจราจรแม้แต่แห่งเดียว 

โครงการของเราสามารถเชื่อมต่อได้กับหลากหลายเส้นทาง อาทิเช่น ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี(340), ถนนกาญจนาภิเษก, และถนนราชพฤกษ์ ทั้งยังเชื่อมต่อกับวงแหวนรอบนอกตะวันตก เดินทางเพียง 5 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีทางเข้าออกอีกหลายเส้นทางที่สามารถเข้าออกได้สะดวกสบายมากขึ้น เป็นจุดเชื่อมต่อที่จะทำให้การเดินทาง ของ 3 จังหวัด คือ ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ ทางเราเชื่อว่าจะสามารถตอบโจทย์เจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาทำเลในการทำธุรกิจใหม่ๆที่ต้นทุนไม่แรงและยังเดินทางได้สะดวกมากขึ้นอีกด้วย 

แบบอาคารของเรา

132 ตร.ม.

ที่ดินขนาด 200 ตร.ว.

โรงงานขนาด 132 ตร.ม.

ดูรายละเอียด

300 ตร.ม.

ที่ดินขนาด 200 ตร.ว.

โรงงานขนาด 300 ตร.ม.

ดูรายละเอียด

225 ตร.ม. นอร์ดิก

ที่ดินขนาด 200 ตร.ว.

โรงงานขนาด 225 ตร.ม. สไตล์นอร์ดิก

ดูรายละเอียด