หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะมีโรงงานแต่คุณไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับโรงงานนั้นก็คงจะไม่ได้เพราะนอกจากกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินงานประกอบกิจการโรงงานแล้ว คุณก็ต้องรู้เกี่ยวกับประเภทของโรงงานด้วยว่ามีกี่ประเภทและแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันอย่างไร? เพื่อที่ว่าจะได้เลือกได้ถูกว่าธุรกิจของคุณนั้นจะเข้าข่ายโรงงานประเภทใดได้บ้าง การที่คุณสามารถทราบประเภทได้ ก็จะนำไปสู่การยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง
นิยามโรงงานตามกฎหมาย (ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2562)
“โรงงาน” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือ ยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 50 แรงม้าหรือมีคนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป เพื่อผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุงแปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ
ประเภทของโรงงาน: กฏกระทรวงกำหนดประเภทของโรงงานฉบับปี 2563 (ฉบับล่าสุด)
กฎหมายโรงงานกำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน การป้องกันความเสียหายและการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้
โรงงานจำพวกที่ 1 : คือ โรงงานที่ มีเครื่องจักรรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20 แรงม้า หรือเทียบเท่า และมีพนักงาน หรือ คนงานไม่เกิน 20 คน ถูกถอดออกจากบัญชี ไม่เข้าข่ายการเป็นโรงงานตามกฎหมายอีกต่อไป
โรงงานจำพวกที่ 2 : คือ โรงงานที่ มีเครื่องจักรรวมกันทั้งสิ้น ไม่เกิน 75 แรงม้า ( HP) และมีพนักงาน หรือ คนงานไม่เกิน 75 คน หากเป็นโรงงานประเภทนี้ จะสามารถประกอบกิจการได้ทันที ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน แต่ต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมในแต่ละปี แต่ต้องไม่เข้าข่ายโรงงานที่ส่งผลต่อมลพิษและสิ่งแวดล้อม
โรงงานจำพวกที่ 3 : คือ โรงงานที่ มีเครื่องจักรรวมกันทั้ง 75 แรงม้าขึ้นไป ( HP) หรือเทียบเท่า และมีพนักงาน หรือ คนงานมากกว่า 75 คนขึ้นไป หากเป็นโรงงานประเภทนี้ต้องขออนุญาตตั้งโรงงานต่อกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และเมื่อไปขอแล้วจะได้รับเอกสาร รง.3 และต้องยื่นขอเอกสารอนุญาตประกอบกิจการโรงงานด้วย นั่นก็คือ รง.4 และเมื่อได้รับเอกสารทั้งหมดนี้แล้ว จะสามารถเปิดใช้โรงงานของเราได้ โดย รง.4 นี้ในอดีตเราจะต้องไปต่ออายุทุกๆ 5 ปี โดยค่าธรรมเนียมจะขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเครื่องจักรอีกด้วย และในปัจจุบัน ได้มีการยกเลิกการต่ออายุ ใบ รง.4 แล้ว พูดง่ายๆก็คือ ใบ รง.4 จะไม่มีวันหมดอายุแล้วนั่นเอง โดยนับตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา
จะเห็นได้ว่าการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้ประกอบการควรตรวจสอบว่าโรงงานที่กำลังจะก่อตั้งนั้นจัดอยู่ในจำพวกไหน และที่สำคัญที่สุดโรงงานควรตั้งอยู่ในสถานที่ ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ และไม่ก่อให้เกิดเหตุอันตรายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย
สำหรับใครที่มีแผนจะก่อสร้างโรงงาน “แผ่นดิน แอสเซท” ยินดีที่จะเป็นหนึ่งในความสำเร็จ เพราะเราคือผู้เชี่ยวชาญให้บริการครบวงจร อีกทั้งโครงการของเราเป็นสังคมโรงงานที่เหมาะกับการสร้างโรงงานที่ตั้งอยู่ในทำเลของการทำโรงงานที่ไม่มีปัญหาที่จะกระทบต่อชุมชนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรงงานที่คุณจะก่อสร้างว่าเหมาะกับโรงงานขนาดไหน อีกทั้งยังคุณสามารถออกแบบสไตล์ที่ทันสมัยให้โรงงานคุณได้อีกด้วย ครบจบที่…แผ่นดิน แอสเซท