ก.ค. 18, 2024

โรงงานมีกี่ประเภท ?

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะมีโรงงานแต่คุณไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับโรงงานนั้นก็คงจะไม่ได้เพราะนอกจากกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินงานประกอบกิจการโรงงานแล้ว คุณก็ต้องรู้เกี่ยวกับประเภทของโรงงานด้วยว่ามีกี่ประเภทและแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันอย่างไร? เพื่อที่ว่าจะได้เลือกได้ถูกว่าธุรกิจของคุณนั้นจะเข้าข่ายโรงงานประเภทใดได้บ้าง การที่คุณสามารถทราบประเภทได้ ก็จะนำไปสู่การยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง

นิยามโรงงานตามกฎหมาย (ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2562)
“โรงงาน” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือ ยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 50 แรงม้าหรือมีคนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป เพื่อผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุงแปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ

ประเภทของโรงงาน: กฏกระทรวงกำหนดประเภทของโรงงานฉบับปี 2563 (ฉบับล่าสุด)
กฎหมายโรงงานกำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน การป้องกันความเสียหายและการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้

โรงงานจำพวกที่ 1 : คือ โรงงานที่ มีเครื่องจักรรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20 แรงม้า หรือเทียบเท่า และมีพนักงาน หรือ คนงานไม่เกิน 20 คน ถูกถอดออกจากบัญชี ไม่เข้าข่ายการเป็นโรงงานตามกฎหมายอีกต่อไป

โรงงานจำพวกที่ 2 : คือ โรงงานที่ มีเครื่องจักรรวมกันทั้งสิ้น ไม่เกิน 75 แรงม้า ( HP) และมีพนักงาน หรือ คนงานไม่เกิน 75 คน หากเป็นโรงงานประเภทนี้ จะสามารถประกอบกิจการได้ทันที ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน แต่ต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมในแต่ละปี แต่ต้องไม่เข้าข่ายโรงงานที่ส่งผลต่อมลพิษและสิ่งแวดล้อม

โรงงานจำพวกที่ 3 : คือ โรงงานที่ มีเครื่องจักรรวมกันทั้ง 75 แรงม้าขึ้นไป ( HP) หรือเทียบเท่า และมีพนักงาน หรือ คนงานมากกว่า 75 คนขึ้นไป หากเป็นโรงงานประเภทนี้ต้องขออนุญาตตั้งโรงงานต่อกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และเมื่อไปขอแล้วจะได้รับเอกสาร รง.3 และต้องยื่นขอเอกสารอนุญาตประกอบกิจการโรงงานด้วย นั่นก็คือ รง.4 และเมื่อได้รับเอกสารทั้งหมดนี้แล้ว จะสามารถเปิดใช้โรงงานของเราได้ โดย รง.4 นี้ในอดีตเราจะต้องไปต่ออายุทุกๆ 5 ปี โดยค่าธรรมเนียมจะขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเครื่องจักรอีกด้วย และในปัจจุบัน ได้มีการยกเลิกการต่ออายุ ใบ รง.4 แล้ว พูดง่ายๆก็คือ ใบ รง.4 จะไม่มีวันหมดอายุแล้วนั่นเอง โดยนับตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา

จะเห็นได้ว่าการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้ประกอบการควรตรวจสอบว่าโรงงานที่กำลังจะก่อตั้งนั้นจัดอยู่ในจำพวกไหน และที่สำคัญที่สุดโรงงานควรตั้งอยู่ในสถานที่ ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ และไม่ก่อให้เกิดเหตุอันตรายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย

สำหรับใครที่มีแผนจะก่อสร้างโรงงาน “แผ่นดิน แอสเซท” ยินดีที่จะเป็นหนึ่งในความสำเร็จ เพราะเราคือผู้เชี่ยวชาญให้บริการครบวงจร อีกทั้งโครงการของเราเป็นสังคมโรงงานที่เหมาะกับการสร้างโรงงานที่ตั้งอยู่ในทำเลของการทำโรงงานที่ไม่มีปัญหาที่จะกระทบต่อชุมชนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรงงานที่คุณจะก่อสร้างว่าเหมาะกับโรงงานขนาดไหน อีกทั้งยังคุณสามารถออกแบบสไตล์ที่ทันสมัยให้โรงงานคุณได้อีกด้วย ครบจบที่…แผ่นดิน แอสเซท

แบบอาคารของเรา

165 ตร.ม.

ที่ดินขนาด 120 ตร.ว.

โรงงานขนาด 165 ตร.ม.

ดูรายละเอียด

660 ตร.ม.

ที่ดินขนาด 400 ตร.ว.

โรงงานขนาด 660 ตร.ม.

ดูรายละเอียด

216 ตร.ม.

ที่ดินขนาด 200 ตร.ว.

โรงงานขนาด 216 ตร.ม.

ดูรายละเอียด